จากข่าวช็อกพสกนิการทั่วโลก ควีนเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) เสียชีวิต หรือ สวรรคต เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนวันที่ 8 กันยายน 2565 ตามเวาประเทศไทย สิริอายุ 96 พรรษา โดยหนึ่งสิ่งที่คนสนใจนอกเหนือจากการสืบราชสมบัติเป็นประมุขของสหรัฐราชจักรต่อของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 ของ พระราชสมบัติของสมเด็จราชินีเอลิซาเบธว่ามีอยู่เท่าใดกันแน่
ประเทศอังกฤษ เป็นหนึ่งในประเทศระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์ ทั้งยังเป็นประเด็นโลกที่ 1 มีความโปร่งใสสูง
ภายหลังการเสียชีวิตของควีนอลิซาเบธ สื่อต่างประเทศอย่าง Fotune ได้รายงานว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ประมาณ 500 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ ระหว่างการครองราชย์ยาวนานกว่า 70 ปี คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท เงินส่วนนี้ถือเป็นเงินมรดก จะตกสู่พระเจ้าชาร์ลที่ 3 ทันทีหลังขึ้นครองราชสมบัติ
เงินจำนวน 500 ล้านดอลลาห์นี้งอกเงยมาจากการลงทุน สะสมงานศิลปะ เครื่องประดับ และการถือครองอสังหาริมรัพย์ ซึ่งรวมถึงบ้านแซนดริงแฮมและปราสาทบัลมอรัล ขณะที่พระราชวังที่เหลือ เช่น พระราชวังบักกิงแฮม มูลค่า 4.9 พันล้านดอลลาร์ พระราชวังเคนซิงตัน 630 ล้านเหรียญ ถือเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นสมบัติของแผ่นดิน ไม่มีสิทธิเป็นมรดกตกทอดให้กับผู้สืบสันตติวงศ์
ดังนั้นจึงกลับมาถึงคำตอบที่ว่า ควีนเอลิซเบธไม่ได้รวยอย่างที่คิดเพราะ มูลค่าทรัพย์สินที่เหลือ กว่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาห์ หรือกว่า 9 ล้านล้านบาทนั้นเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของหน่วยงานเรียกว่า The Royal Firm และ The crown Estast ซึ่งสมาชิกราชวงศ์เป็นสมาชิกอยู่ในนั้นแต่ไม่มีสิทธิใช้เงินหรือโยกย้ายขายอสังหาริมทรัพย์ในนั้นได้
เงินที่พระราชินีเอลิซาเบธและพระราชวงศ์จะได้รับเป็นเงินรายปีจากรัฐบาล จะได้ผ่านกองทุนผู้เสียภาษีที่เรียกว่าSovereign Grant ซึ่งเป็นมรดกทางเหตุการณ์มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3 ที่จะยอมมอบรายได้ของพระองค์ให้รัฐสภาเพื่อรับเงินรายปีที่แน่นอนสำหรับตัวพระองค์เองแลสมาชิกรชวงศ์ในอนาคต
ในปี 2564 เงินกองนี้ได้มาเพียง 86 ล้านปอนด์ จัดสรรเป็นค่าเดินทางทำพระราชกรณียกิจอย่างเป็นทางการ ค่าบำรุงสถานที่ ทรัพย์สิน และค่าบำรุงรักษาพระราชวังบักกิงแฮม ที่ประทับพระราชินี
เช่นเดียวกับแคทเธอรีน ข้าพเจ้ารู้ดีว่าเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ของเรา จะคอยสร้างแรงบันดาลใจและเป็นตัวแทนระดับชาติของประเทศเราต่อไป ข้าพเจ้าต้องการแสดงความรักต่อแฮร์รี่และเมแกนด้วย ในขณะที่พวกเขายังคงก่อร่างสร้างชีวิตของพวกเขาเองในต่างแดน”
“และสำหรับพระมารดาผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า จากนี้พระองค์คงเริ่มต้นการเดินทางครั้งสุดท้ายเพื่อไปประทับอยู่กับพระบิดาผู้ทรงรออยู่ก่อนแล้ว ข้าพเจ้าอยากกล่าวต่อพระองค์ว่า ‘ขอบคุณ’
ขอบคุณสำหรับความรักและความจงรักภักดีต่อครอบครัวของเรา และต่อประเทศชาติที่พระองค์ทรงรับใช้อย่างขยันขันแข็งตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ขอทูตสวรรค์ช่วยขับกล่อมพระมารดาให้ได้พักผ่อน”
ประวัติ ‘เจ้าชายฟิลิป’ ดยุกแห่งเอดินบะระ สวามีควีนอลิซาเบธ ที่ 2
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ได้มีการอกประกาศอย่างเป็นทางการ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงสวรรคตแล้ว สร้างความเสียใจให้แก่ผู้คนทั่วโลก ซึ่งนี่นับเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่ราชวงศ์อังกฤษต้องเปลี่ยนผ่านกษัตริย์องค์ถัดไป ภายหลังการอภิเสกสมรสของ ควีนอลิซาเบธ ที่ 2 กับพระสาวมีอย่าง เจ้าชายฟิลิป
เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ (ภาษาอังกฤษ Prince Philip, Duke of Edinburgh) พระนามเดิมคือ เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์ก ทรงประสูติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1921 และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2021 มีพระชนมายุทั้งสิ้น 99 ปี เป็นสมาชิกของราชวงศ์อังกฤษ ทรงเป็นพระราชสวามีของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ฟิลิปทรงประสูติในประเทศกรีซ ในราชวงศ์กรีกและเดนมาร์ก แต่ครอบครัวของพระองค์ถูกขับไล่เนรเทศออกจากประเทศ เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุ 18 พรรษา ทรงเข้ารับราชการทหารในราชนาวีของบริติชใน ค.ศ. 1939
พระองค์ทรงเริ่มติดต่อทางจดหมายกับ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ที่มีพระชนม์มายุ 13 พรรษา ซึ่งเป็นพระราชธิดาและทายาทโดยตรงกับ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 หลังพบพระนางเป็นครั้งแรกในค.ศ. 1934 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนและแปซิฟิกของอังกฤษ
หลังสงคราม เจ้าชายฟิลิปทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ก่อนที่จะมีการประกาศหมั้นหมายอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1947 ทรงสละพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ทั้งหมดของกรีซและเดนมาร์ก กลายเป็น คนในบังคับอังกฤษ โดยทรงใช้ชื่อและนามสกุลอังกฤษ “เมานต์แบ็ตเทน” ซึ่งแปลงมาจากนามสกุลเยอรมัน “บัทเทินแบร์ค” ของฝ่ายพระมารดา
ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์แก่เจ้าชายฟิลิปให้เป็นฮิส รอยัลไฮเนส และสถาปนาพระองค์เป็นดยุกแห่งเอดินบะระ เอิร์ลแห่งแมริโอเน็ต และบารอนกรีนวิช มีตำแหน่งยศเป็นผู้บัญชาการทหารและได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าชายบริติชใน ค.ศ. 1957
แนะนำ : รีวิวซีรี่ย์เกาหลี | ลายสัก | รีวิวร้านอาหาร | โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก | เรื่องย่อหนัง